|
กว่าจะเป็นเครื่องจักสานกระจูด |
|
|
การผลิตเครื่องจักสานกระจูดเป็นความสามารถ และภูมิปัญญาของชาวบ้านมาบเหลาชะโอนในการนำวัสดุ
ธรรมชาติมาส้รางสรรค์เป็นเครื่องใช้แบบต่างๆ โดยเริ่มจากการสานเป็นเสื่อกระจูด กระสอบใส่น้ำตาล และปรับประยุกต์เรื่องมา เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ใช้ประโยชน์หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งความรู้เหล่านี้ได้รับ
การสืบสานมายาวนาน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนในการทำเครื่องจักสาน |
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 1 |
ตัดต้นกระจูดจากบึงสำนักใหญ่ โดยเลือกต้นที่มีลักษณะ
สมบูรณ์ มีความสูงอย่างน้อย 1 เมตร ซึ่งต้นกระจูดจะขึ้น
ตลอดปี ทำให้มีวัสดุสำหรับการผลิตเครืองจักสานได้
อย่างต่อเนื่ื่อง
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 2 |
เตรียมดินนวลสำหรับคลุกกระจูด ซึ่งเป็นดินที่มีอยู่ในพื้นที่ บริเวณภูิเขา โดยผสมกับน้ำสะอาดให้ดินกับน้ำเข้ากัน
ดินนวลมีคุณสมบัติทำให้เส้นกระจูดมีความนิ่้ม และเหนียวมากขึ้น |
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 3 |
ต้นกระจูดที่ตัดตามขนาดที่ต้องการแล้ว นำมาตากแดด
เป็นเวลา 2 วัน เพื่อให้เส้นกระจูดแห้ง ป้องกันเชื้อรา
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 4 |
เตรียมพื้นที่และอุปกรณ์สำหรับรีดเส้นกระจูดให้แบน เพื่อให้
เตรียมสำหรับผลิตเป็นเครื่องจักสานต่อไป
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 5 |
ทำการรีดเส้นกระจูดให้แบน และนิ่ม เหมาะสำหรับผลิตเครื่องจักสาน อาจใช้การตำด้วยสากขนาดใหญ่ก็ได้ |
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 6 |
เส้นกระจูดที่ได้จะมัดรวม เก็บไว้ในที่ร่มและแห้ง |
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 7 |
ล้างดินนวลออกจากเส้นกระจูดให้สะอาด เพื่อนำเส้นไป
ย้อมสี
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 8 |
อุปกรณ์ในการย้อมสีกระจูด ใช้หม้อแสตนเลสแทนหมอเหล็ก
เพื่อป้องกันการเกิดสนิม เนื่องจากสนิมจะทำให้สีที่ได้ ไม่ตรงกับความต้องการ
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 9 |
เส้นกระจูดที่ล้างดินนวลออกแล้ว ตากแดดให้แห้งอีกครั้ง รอสำหรับยอมสีต่างๆ โดยสีที่ใช้จะใช้สีสำหรับย้อมกระจูด โดยเฉพาะ |
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่10 |
ย้อมเส้นกระจูด ด้วยสีสำหรับย้อมเส้นใยพืชโดยเฉพาะ |
 |
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่11 |
นำเส้นที่ย้อมเสร็จแล้วตากแดดจนแห้ง พร้อมสำหรับการผลิตเป็นสินค้าประเภทต่างๆ ซึ่งจะมีการคัดเลือกเส้นกระจูดขนาด |
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่12 |
ชาวบ้านทำการสานกล่องขนาดต่างๆตามที่ได้รับออกแบบ
ไว้แล้ว ซึ่งจะผลิตสินค้าที่มีขนาดใหญ่ก่อน และนำเส้นที่
เหลือมาผลิตสินค้าที่มีขนาดเล็ก เป็นการใช้วัตถุดิบอย่าง
ประหยัดและคุ้มค่า ในส่วนของเศษที่ใช้ไม่ไ้ด้แล้วนั้น
จะนำไปใส่โคนต้นไม้ เป็นปุ๋ยธรรมชาติต่อไป
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่13 |
ทำการตรวจสินค้าแต่ละชิ้นอย่างละเอีัยดก่อนส่งให้ลูกค้า
ทั้งในเรื่องของขนาด สี รอยตำหนิของสินค้า เพื่อให้สินค้ามี
คุณภาพตามมาตรฐานของกลุ่ม และตลาดทั้งในและต่าง
ประเทศ
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่14 |
ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบเรี่ยบร้อยแล้ว รอจัดลงบรรจุภัณฑ์เื่พื่อส่งให้ลูกค้าต่อไป |
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่15 |
เจ้้าหน้าที่ของกลุ่ม จัดสินค้าลงกล่อง |
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่16 |
จัดเรียงสินค้าขึ้นรถขนส่ง เพื่อส่งให้กับลูกค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ |
|
|
|
|
ขั้นตอนที่17 |
จำหน่าย ณ กลุ่มจักสานกระจูดบ้านมาบเหลาชะโอน |
 |
|
|
|
ขั้นตอนที่18 |
กิจกรรมออกร้านจำหน่ายนอกสถานที่ |
 |
|
|